ชิคุนกุนยา โรคร้ายที่มากับยุงลาย
0 comments
ชิคุนกุนยา โรคร้ายที่มากับยุงลาย
หน้าฝนทำให้ทุกพื้นมีน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายชั้นดี ยุงหลายเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อไวรัสเกี่ยวกับไข้เลือดออกและไวรัส “ชิคุนกุนยา” ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่มียุงรายเป็นพาหะนำโรคอีกเช่นกัน
ผู้ติดเชื้อ “ชิคุนกุนยา” มีอาการต่างกับ ไข้เลือดออกอย่างไร
- ไข้เลือดออกจะมีเกล็ดเลือดต่ำมากทำให้มีเลือดออกอย่างรุนแรง แต่ชิกุนคุนยาไม่มี
- ชิคุนกุนยา ไม่มีผนังเส้นเลือดฝอยผิดปกติ จนมีสารน้ำรั่วจากเส้นเลือดรุนแรง จนทำให้ความดันโลหิตต่ำ ช็อค เหมือนกับโรคไข้เลือดออก
- ชิคุนกุนยา ความรุนแรงน้อย ไม่อันตรายถึงชีวิตเหมือนกับไข้เลือดออก
โรคชิคุนกุนยา จะมีระยะฟักตัว 2-5 วัน และเมื่อตรวจพบ ผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้
- ไข้สูงมาก อาจถึง 40 องศา ประมาณ 2 วัน หลังจากนั้นไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว
- ผิวหนังผู้ป่วยมีสีแดงมากขึ้น เนื่องจากเส้นเลือดฝอยที่ผิวหนังขยายตัว
- มีผื่นแดงเล็กๆตามร่างกาย
- ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
- ตาแดง
- มีอาการปวดตามข้อ ต่างๆของร่างกาย มีภาวะข้ออักเสบ อาจพบปวดหลายๆข้อพร้อมกัน
วิธีตรวจหา โรคชิคุนกุนยา
แพทย์จะวินิจฉัยโดยการถามประวัติผู้ป่วยและเจาะเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัส
รักษา โรคชิคุนกุนยา อย่างไร
ยารักษาโรคนี้โดยตรงยังไม่มี แพทย์จะใช้รักษาตามอาการ พร้อมให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มมากน้ำมากๆ รับประทานยาตามแพทย์สั่งเท่านั้น และต้องปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
การป้องกัน โรคชิคุนกุนยา
วิธีป้องกันโรคนี้คงเหมือนกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก คือ ไม่อยู่ในพื้นที่ยุงเยอะ ทายากันยุงเสมอเมื่อไปพื้นที่เสี่ยง ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เป็นต้น
ถึงแม้โรคชิคุนกุนยามีความรุนแรงน้อยกว่าไข้เลือดออกก็ตาม เราก็อย่าชะล่าใจ เพราะ ยุงลาย ก็ยังเป็นพาหะนำโรคที่ทำให้เราป่วยรุนแรงอาจถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นการป้องกันยุงไม่ให้ยุงกัดจึงเป็นสิ่งสำหรับทุกคน
แหล่งข้อมูล: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล , samitivejhospitals
✅สั่งซื้อผ่าน LINE คลิก: https://lin.ee/k6RJmjC
0 comments