เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ สำหรับเต้านม 3 มิติ
0 comments
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ สำหรับเต้านม 3 มิติ
Koning Breast Computed Tomography (KBCT) เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ สำหรับเต้านม 3 มิติ
นับเป็นเครื่องโคนบีมซีทีเครื่องแรกของโลก(Cone beam CT) ที่ได้รับการรับรองจาก องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา(USFDA)
เครื่องโคนบีมซีที (Cone beam CT) คือเครื่องถ่ายภาพรังสีโคนบีมซีทีมีแหล่งกําเนิดรังสีซึ่งมีลักษณะเป็นรังสีเอกซ์รูปกรวย (cone shape x-ray beam)โดยมีตัวรับ (Detector) อยู่ด้านตรงข้ามแหล่งกําเนิดรังสี
การออกแบบเตียงนอนที่พิเศษ สามารถถ่ายภาพเต้านมได้ครอบคลุมทั้งเต้าและผนังของทรวงอก(Chest Wall) เทคนิคการถ่ายภาพด้วยเครื่อง KBCT นั้น ผู้ที่ได้รับการตรวจจะอยู่ในท่านอนคว่ำ เพื่อให้เต้านมข้างที่ต้องการตรวจ หย่อนลงไปในช่องของตัวเครื่องที่ออกแบบมาได้พอเหมาะกับขนาดต่างๆของเต้านมทีละข้าง จากนั้นเครื่องจะทำการถ่ายภาพโดยหลอดเอกซเรย์( X-ray Tube) จะหมุนรอบของเต้านมทีละข้าง 1รอบ(360 องศา)โดยใช้เวลาในการถ่ายภาพเพียงข้างละ 10 วินาที ภาพที่ได้จะมี 3 ระนาบ คือ แนวตามขวาง (Axial), แนวตามยาว (Sagittal) ,แนวรัศมีวงกลม (Coronal) และสร้างภาพ 3 มิติได้อย่างอัตโนมัติ ภาพเต้านมที่ได้แต่ละภาพมีความหนาเพียง 0.27 มิลลิเมตร ได้จำนวนหลายร้อยภาพครอบคลุมทุกส่วนของเต้านม
การถ่ายภาพด้วยเครื่อง KBCT จะได้ภาพที่มีความละเอียดของโครงสร้างภายในเต้านม จะช่วยให้แพทย์ผู้วินิจฉัยสามารถตรวจพบสิ่งผิดปกติภายในเต้านมได้อย่างชัดเจน ข้อบ่งชี้ในการตรวจมีดังนี้
- สามารถตรวจพบความผิดปกติรอยโรคที่มีขนาดเล็ก ที่มีและไม่มีหินปูนร่วมด้วย หินปูนขนาดเล็กเท่าจุดปลายปากกาที่อยู่เป็นกลุ่ม (Micro-calcification) ได้อย่างชัดเจน ซึ่งนับว่าสำคัญมาก เพราะเป็นหินปูนที่เกิดจากเซลล์มะเร็งที่มีการเพิ่มจำนวนมากและบางส่วนของเซลล์ได้ตายไป ทำให้ตรวจพบภาพหินปูนที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่าเริ่มมีเซลล์มะเร็งก่อตัวขึ้น ช่วยในการวินิจฉัยตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก (Screening) มีผลทำให้ได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ทำใหผู้ป่วยมีโอกาสตอบสนองต่อการรักษาได้เป็นอย่างดี
- เอกซเรย์เต้านมแบบสามิติด้วยเครื่อง KBCT เป็นการตรวจวินิจฉัยในกลุ่มผู้ที่มีอาการและความผิดปกติของเต้านม เช่น คลำเจอก้อนเนื้อ, มีน้ำไหลทางหัวนม, ปวดเต้านม, หัวนมผิดปกติ เป็นต้น เพื่อการวินิจฉัยและวิเคราะห์โรคได้แม่นยำ (Diagnostic) ซึ่งอาจจะร่วมกับฉีดสารทึบแสงเข้าหลอดเลือด
- ในกรณีที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งเต้านมแล้วนั้นก็สามารถดูระยะการดำเนินและกระจายของโรค (Cancer Staging) ต้องร่วมกับการฉีดสารทึบแสงเข้าหลอดเลือด เพื่อการวางแผนการรักษาโดยวิธีต่างๆ เช่น การผ่าตัดและการร่วมรักษาโดยวิธีอื่นๆ ได้แก่ การให้เคมีบำบัด และการฉายแสง ตลอดจนการติดตามผลการรักษาเพื่อการตรวจพบการกลับมาเป็นใหม่ของโรคได้
-
เมื่อตรวจพบความผิดปกติในเต้านม เครื่อง KBCT จะสามารถช่วยในการชี้นำตำแหน่งรอยโรคที่มีขนาดเล็กได้อย่างแม่นยำเพื่อการเจาะตัดเนื้อเยื่อตรวจทางพยาธิวิทยาและการวางแผนการรักษาโดยวิธีการผ่าตัด (Breast Intervention)
ข้อดีจากการตรวจเต้านม ด้วยเครื่อง KBCT
ช่วยในการตรวจวินิจฉัย สามารถตรวจพบก้อนมะเร็งขนาดเล็กที่มีและไม่มีหินปูนร่วมด้วย เนื่องจากภาพที่ได้นั้นมีความชัดเจนและเป็น แบบสามมิติของเต้านมทั้งเต้า
- สามารถเห็นภาพเต้านมได้ถึง 3 ระนาบ คือ Axial(แนวขวาง) ,Sagittal(แนวยาว) ,Coronal (แนวรัศมีวงกลม) และสร้างภาพ 3 มิติได้
- สะดวกในการวินิจฉัยกับผู้ที่เสริมเต้านม
- สามารถฉีดสารทึบแสงทางรังสี (Contrast Media) ร่วมกับการถ่ายภาพด้วยเครื่อง KBCTได้ เพื่อการตรวจพบรอยโรคได้ชัดเจนขึ้น
- เครื่อง KBCT ยังสามารถปรับเปลี่ยนเป็น เตียงที่ยกระดับ และเปิดออกเพื่อให้แพทย์ทำหัตถการ ได้แก่ การเจาะตัดชิ้นเนื้อ(Biopsy) หรือการวางลวดชี้ตำแหน่งรอยโรค (Wire Localization) ด้วยเทคนิคการทำที่ง่ายให้ความแม่นยำสูง โดยเฉพาะรอยโรคที่มีขนาดเล็กน้อยกว่า 1 เซนติเมตรและในรอยโรคที่ไม่สามารถตรวจพบได้โดยวิธีการตรวจอื่น
- การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่อง KBCT นั้นพบว่า มีความสะดวกรวดเร็ว ทำได้ง่าย และไม่มีการกดทับ บีบอัดเต้านมที่จะก่อให้เกิดความเจ็บหรืออันตรายใดๆต่อเต้านม ให้ความรู้สึกสบายกว่าการตรวจด้วยวิธีอื่น นอกจากนี้ปริมาณรังสีที่เฉพาะเจาะจงที่บริเวณเต้านมที่ได้รับคำนวณแล้วปริมาณรังสีน้อยกว่าการตรวจเอกซเรย์เต้านมโดยวิธีอื่น
- การเตรียมตัวและการจัดทำเพื่อสแกนของผู้รับการตรวจทำได้ง่ายและรวดเร็ว ระยะเวลาในการตรวจเต้านมทั้ง 2 ข้างไม่เกิน 10 นาทีต่อ 1 ราย
สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์: https://www.facebook.com/messages/t/ihlcares
**************************************************************************************
Shop now: https://bit.ly/36MKCP1
Metatrol Pro เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของผู้ป่วยมะเร็ง
0 comments